สนามมวยราชดำเนิน (เวทีราชดำเนิน)

ชื่อ (Name) สนามมวยราชดำเนิน (เวทีราชดำเนิน)(Rajadamnern Stadium)

ชื่อดั้งเดิม (Original Name) สนามมวยแห่งชาติ (พ.ศ.2488-2496)

ที่ตั้ง Location) เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
พิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS Coordinate) 13o76'10.62" N, 100o50'85.88" E

ประเภทของอาคารปัจจุบัน (Current typology) สนามกีฬา-เวทีมวย (นันทนาการ REC)

ประเภทของอาคารเมื่อแรกสร้าง (Original typology) สนามกีฬา-เวทีมวย (นันทนาการ REC)

การปกป้องคุ้มครอง (State of protection) ดูแลรักษาโดย บริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด (ผู้ทำสัญญาเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)

ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ (Year of competition of construction ) พ.ศ.2488(1945 AD)

ผู้ออกแบบ Architectural designer) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Property Bureau)

ประวัติความเป็นมาของอาคาร History of buildings)
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง กิจการมวยไทยได้รับการพัฒนาขึ้นโดยสมาชิกคณะราษฎร สายทหารเรือ ต่อมารัฐบาล (ภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี) ได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินบริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนดไว้ และมีแผนก่อสร้างสนามมวยบนถนนราชดำเนินโดยได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว (ในเบื้องต้น กำหนดให้สร้างสนามมวย ณ บริเวณสวนมิสกวัน มุมถนนพิษณุโลกและราชดำเนินนอก ต่อมาได้มีการพิจารณาให้เปลี่ยนมาเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับสนามมวย) บริษัท อิมเพรซี อิตาเลียน ออล เฮ็สเตโร-โอเรียนเต เป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้างสนามมวยขึ้นในปี พ.ศ. 2484 โครงการได้เริ่มขึ้นโดยมีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2484 หากแต่โครงการต้องหยุดชะงักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างสนามมวยให้แล้วเสร็จ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 โดยใช้เวลาสี่เดือนจึงแล้วเสร็จ (ในขณะนั้นสนามมวยยังไม่มีหลังคา) สนามมวยแห่งชาติได้เปิดการแข่งขันนัดแรกในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 โดยอยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (มีนายปราโมทย์ พึงสุนทร เป็นผู้จัดการสนามมวยหรือนายสนามมวย ต่อมา นายประหลาด อิศรางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นเข้ารับหน้าที่แทนนายปราโมทย์ จากนั้นนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ได้เข้ามารับหน้าที่แทน นายเฉลิมได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่สะดวกนานาประการในการจัดการแข่งขันมวยในที่แจ้ง จึงเสนอให้สร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมด สำนักงานสำนักงานทรัพย์สินฯ ในขณะนั้นจึงได้มอบหมายให้บริษัท คริสตินี นีลสัน (ประเทศไทย) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างหลังคาพร้อมทั้งต่อเติมที่นั่งให้มากขั้น ทำให้สนามมวยแห่งนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นสนามมวยได้มาตรฐานในปี พ.ศ. 2494 อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลากว่าเจ็ดปีภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ สนามมวยราชดำเนินประสพการขาดทุนมาตลอด ท้ายที่สุด สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงเสนอให้องค์กรเอกชนเช่าสถานที่และดำเนินกิจการต่อ (ภายใต้เงื่อนไขว่า องค์กรดังกล่าวต้องเป็นของคนไทย) หากแต่นายเฉลิม ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการสนามมวยอยู่ ในขณะนั้นเห็นว่า ไม่เหมาะสมที่จะให้องค์กรหรือบุคคลนอกจากวงการมวยมาบริหารและดำเนินกิจการสนามมวย จึงขออนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ตนเป็นผู้ดำเนินกิจการสนามมวย และได้ก่อตั้งบริษัท ราชดำเนิน จำกัด ขึ้น เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 จากนั้นจึงได้ดำเนินกิจการ บริษัท ราชดำเนินจำกัด โดยจัดการแข่งขันมวย ณ เวทีสนามมวยราชดำเนินมาโดยตลอด และได้ทำการขยายและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนพัฒนาสนามมวยอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสนามมวยที่มีชื่อเสียงในระดับสากล และเป็นสถาบันมวยไทยแห่งหนึ่งของประเทศไทย